กบนา
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะผิวด้านหลังมีสีน้ำตาลจุดดำ
ผิวหนังขรุขระมีรอยย่น ที่ริมฝีปากมีแถบดำ ใต้คางมีจุดดำ หรือแถบลายดำ
เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนัก 200–400
กรัม กบนาตัวเมีย มีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ท้องจะมีลักษณะอูมเคลื่อนไหวช้าและข้างลำตัวจะมีตุ่มเมื่อคลำดูมีลักษณะสากมือ
ถิ่นอาศัย
พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ เช่น นาข้าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
โดยเป็นกบชนิดที่นิยมบริโภคกันเป็นอาหารมาอย่างช้านาน
มีการเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ในตัวที่มีผิวสีเผือกขาวหรือสีทองอาจเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงได้
พฤติกรรมของกบนา
1. กบชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง
มากกว่าอยู่ในน้ำตลอดเวลา แต่ไม่ชอบที่แห้งๆ
2. กบชอบอากาศที่อบอุ่น
มากกว่าอากาศหนาวเย็น
3. กบชอบอาศัยอยู่ในที่สะอาด
และไม่มีศัตรู เช่น นก หรือ งู
4. กบจะตกใจง่าย
ขี้หวาดกลัว และกระโดดหนีอย่างรุนแรง ถ้าตกใจมากๆ
5. กบไม่ชอบอยู่ในที่
ที่มีเสียงดังมาก หรือมีควันไฟ
6. กบมักจะเปลี่ยนสีผิวหนังไปตามสีของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
7. กบจะกินอาหารน้อยลงหรือจำศีล
เมื่ออาการเย็น ทำให้เลี้ยงโตช้าช่วงหน้าหนาว
การสืบพันธุ์
ส่วนมากในคืนแรกหรือคืนที่
2 หลังจากฝนตก กบจะทำการผสมพันธุ์ วางไข่แต่
อาจยึดเยื้อไปได้อีก โดยจะผสมพันธุ์วางไข่หลังจากฝนตกประมาณ 5-7 วัน เมื่อเลือกกบ
ที่มีลักษณะดีแล้วให้นำมาปล่อยในบ่อผสมพันธุ์ในอัตราตัวผู้ 2 ตัวต่อตัวเมีย 10 ตัว
(ตัวผู้กับตัวเมียมีขนาดเท่ากัน) ระดับน้ำในบ่อลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ภายในบ่อ ใส่พวกสาหร่ายลงไปด้วยพอประมาณ รักษาระตับน้ำให้คงที่ตลอดเวลา
ในช่วงนี้งดให้ อาหารประมาณ 2-3 วัน
ถ้ายังไม่มีฝนตกให้เปลี่ยนน้ำใหม่และอาจพ่นน้ำในบ่อผสมพันธุ์
รูปภาพประกอบ
(1) กบนา
(2) การอยู่ร่วมกัน
(3)
ลักษณะทั่วไป
(4) พฤติกรรมของกบนา
(5) การสืบพันธ์
http://www.kasetporpeangclub.com
กบ กบ กบ
ตอบลบกบ กบ เต็มไปหมด
ตอบลบเนื้อหาดีมาก
ตอบลบกบนาาาาาา
ตอบลบ